Domain Name คืออะไร ตอบง่าย ๆ ก็คือชื่อของเว็บไซต์ นั่นเอง เช่นที่นี่ ก็จะชื่อ http://www.com-th.net เป็นต้น สำหรับท่านที่ต้องการสร้างสรรค์ผลงาน นำออกมาแสดงโดยผ่านทาง อินเตอร์เน็ต ก็จะมีทางเลือกให้ 2 ทาง ทางแรกคือใช้ชื่อเว็บไซต์ ที่มีบริการแจกฟรีต่าง ๆ โดยที่จะใช้ชื่อเว็บไซต์ ที่อาจจะยาว ๆ สักหน่อย เช่น http://www.geocities.com/website หรือ http://website.hypermart.net เป็นต้น
อีกทางเลือกหนึ่งก็คือการขอจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ของท่านเอง เช่น http://www.yourname.com ซึ่งปัจจุบัน ราคาค่าบริการค่อนข้างจะถูกลงมามากแล้ว และมีทั้งที่เปิดให้บริการในประเทศไทยของเราด้วย แต่ปัญหาที่ถกเถียงกันอย่างมาก คือเกิดการแย่งชิงชื่อ Domain Name กัน โดยเฉพาะถ้าหากเป็นชื่อที่สวย ๆ หรือบางครั้งผู้รับจดทะเบียนอาจจะใช้ชื่อเขาเองเป็นเจ้าของ แทนที่จะเป็นชื่อของผู้ขอจดทะเบียน ซึ่งอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคนด้วย
ดังนั้น ขอแนะนำท่านที่ต้องการจะจดทะเบียนชื่อ Domain Name ว่าหากเป็นชื่อเว็บไซต์แบบธรรมดาทั่ว ๆ ไป ควรที่จะหาจดทะเบียนผ่านตัวแทน ในประเทศไทยดีกว่า เพราะว่าราคาจะถูกกว่า (ประมาณ 600 บาท/ปี) และมีการ Support ต่าง ๆ ที่เป็นคนไทยด้วย แต่ถ้าท่านคิดว่า ชื่อที่จะจดทะเบียนนั้น สวยมาก ๆ และไม่ไว้ใจผู้ให้บริการในประเทศไทย กลัวโดนแย่งชิงตัดหน้าไปก่อน (แบบที่ได้ยินกันบ่อย ๆ) ก็อาจจะใช้วิธีไปจดกับต่างประเทศแทนก็ได้ ซึ่งค่าบริการจะอยู่ที่ประมาณ 35$ /ปี หรือบางที่ อาจจะถูกกว่านี้ อันนี้ก็พิจารณาตัดสินใจกันเองนะครับ
ในปัจจุบันนี้ ชื่อของโดเมนเนม ที่เป็นที่นิยมจดทะเบียนกันมาก จะแบ่งออกเป็นหลายแบบดังนี้
• .com .net และ .org เป็นนามสกุลของ domain name ที่นิยมกันและเป็นสากล
• .ws .to .tv .cc .st และอื่น ๆ เป็นนามสกุลของ domain name บางประเทศ แต่นำมาเปิดให้คนทั่วไปจะทะเบียนได้
• .co.th .in.th .ac.th .net.th และอื่น ๆ ที่ลงท้ายด้วย .th เป็นของประเทศไทยเรา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.thnic.net ครับ
• .biz .info .name และอื่น ๆ อีก 7 ชื่อ เป็นนามสกุลที่กำลังจะเปิดใหม่ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.icann.org ครับ
สรุป สิ่งจำเป็น ในการมีเว็บไซต์ ดอทคอม เป็นของตัวเอง
• ชื่อ domain name ต่าง ๆ ที่ไปทำการจดทะเบียนไว้
• พื้นที่วางเว็บเพจหรือ Host ซึ่งอาจจะใช้ของฟรี หรือเสียเงินเช่าก็ได้
• จากนั้น ก็ทำการตั้งให้ชื่อ domain name กับ Host รู้จักกัน ก็ใช้งานได้แล้ว
ก่อนที่จะทำการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ หาชื่อที่ต้องการจะจดก่อน แนะนำให้ไปค้นหาที่ http://www.whois.net เพราะว่ามีการค้นหาที่ง่ายและสะดวกในการเลือกชื่อของเราด้วย เมื่อได้ชื่อที่ต้องการแล้ว ต่อไปคือการวางแผนที่จะใช้ host สำหรับฝากวางเว็บเพจ ว่าจะไปเช่าที่ไหน หรือจะใช้ของฟรีที่มีให้บริการ ก็ลองติดสินใจในจุดนี้ก่อนว่าจะเลือกอย่างไร (หากเป็นเว็บที่ทำเล่น ๆ ก็ใช้ของฟรีก็ได้ครับ เช่น hypermart.net โดยจะมี banner แถมมานิดหน่อย แต่ก็ประหยัดเงินไปได้แยะ) สิ่งแรกที่ต้องการจาก host ก็คือ Name Server และ DNS ของ host นั้น ๆ เพราะว่าค่าของ Name Server และ DNS นี้จะต้องนำไปใช้เพื่อให้ชื่อ Domain Name ของเรานั้น สามารถใช้งานได้ถูกต้อง ซึ่งถ้าหากเราเป็นเจ้าของ Domain Name แล้ว จะสามารถเปลี่ยนไปใช้ host ของที่อื่น ๆ เมื่อไรก็ได้ ตัวอย่างของ Name Server ของ hypermart.net ก็ดังนี้
Primary Server : ns1.hypermart.net IP = 206.253.222.65
Secondary Server: ns2.hypermart.net IP = 206.253.222.66
สิ่งสำคัญ หลังจากที่ทำการจดทะเบียนชื่อ Domain Name เสร็จแล้วก็คือ ชื่อที่แสดงความเป็นเจ้าของ และชื่อของผู้ติดต่อ หรือทำการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Domain Name นั้น ๆ ซึ่งจะมีอยู่ 3 แบบดังนี้
1. Administrative Contact คือชื่อเจ้าของ Domain Name
2. Technical Contact ชื่อที่ใช้สำหรับการติดต่อทางด้านเทคนิค
3. Billing Contact ชื่อสำหรับการติดต่อในการออกบิล
ถ้าเป็นการจดทะเบียนเอง ทั้ง 3 ชื่อนี้จะเป็นของเราหมด แต่ถ้าหากจดโดยผ่านตัวแทนต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้ว มักจะใส่ชื่อ Technical Contact เป็นผู้จดทะเบียน หรือผู้ที่ทำหน้าที่จัดการต่าง ๆ ให้เรา อันนั้นก็คงจะไม่เป็นไรมาก แต่ที่สำคัญคือ ชื่อของ Administrative Contact ต้องเป็นชื่อเรานะครับ ถ้าจดผ่านคนอื่นก็ต้องดูให้ดี ๆ ด้วย เมื่อเตรียมทุกอย่างได้พร้อมแล้ว ก็เริ่มต้นการจดทะเบียนได้ หากใครคิดที่จะทำการจดผ่านตัวแทนในประเทศไทย ก็คงจะง่าย เพราะว่าให้เขาจัดการทั้งหมดให้เราได้เลย และส่วนใหญ่ก็ราคาจะถูกกว่าด้วย
ถ้าหากท่านใดต้องการดูตัวอย่าง วิธีการจดทะเบียนกับที่ต่าง ๆ ลองหาดูจากหัวข้ออื่น ๆ ในเรื่อง เทคนิคการสร้างเว็บไซต์ ในรูปแบบต่าง ๆ ได้เลยครับ
Link สำหรับการจดทะเบียนชื่อ Domain Name ต่าง ๆ
• http://www.networksolutions.com
• http://www.register.com
• http://www.dotster.com
• http://www.godaddy.com
• http://www.checkdomain.com
• http://www.directnic.com
• http://www.internic.net
• http://d-n-s.com/it8.html
• http://www.whois.net
• http://www.siamdomain.com
• http://domainatcost.com *ของไทย 600.- บาท/ปี
Link สำหรับให้บริการ Free Hosting ต่าง ๆ ที่ใช้ชื่อ domain name ได้
• http://www.domaindlx.com 15MB. ASP
• http://www.freeservers.com 20MB.
• http://www.freewebsites.com 50MB.
• http://www.webhostme.com 20MB. ASP
• http://www.virtualave.net 50MB. CGI (ต้องใช้บัตรเครดิต)
• http://www.hypermart.net 50MB. CGI (ต้องใช้บัตรเครดิต)
• http://www.netfirms.com 25MB. CGI
Link สำหรับให้บริการเช่า Hosting แบบเสียเงิน (บางที่ก็รับจดชื่อด้วย)
• http://www.hostdozy.com
• http://www.supersavehost.com
• http://www.thaihosty.com
• http://www.thaihomepages.com
• http://www.siaminet.com
• http://www.108web.com/thai
• http://www.cyberhost-th.com
• http://www.numberonehosting.com
• http://www.thaizone.net
• http://www.ztwice.com
• http://www.thaiserver.com
• http://www.netcreatic.com
*** รายละเอียดต่าง ๆ ตามลิงค์ข้างบนนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข ดังนั้น ตรวจสอบก่อนด้วยนะครับ
Thursday, March 27, 2008
อยากมีเว็บไซต์ ดอทคอม กับเขา จะต้องทำอย่างไรบ้าง
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment