• ดื่มน้ำผลไม้ นม หรือน้ำปั่น มิลค์เชค (ไอศกรีมปั่นกับนม) แทนชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมที่ไร้ประโยชน์ ถ้าไม่อยากทำอาหารให้ตนเอง อาจใช้วิธีดื่มเป็นน้ำผลไม้ปั่นกับโยเกิร์ต นม หรือแม้กระทั่งไอศกรีมก็ได้
• รับประทานอาหารมื้อย่อยๆ เพิ่มขึ้น การทำเช่นนี้จะทำให้ได้รับสารอาหารได้ง่ายกว่าที่จะรับประทานอาหารเป็นมื้อใหญ่ๆ 3 มื้อ
• ดื่มน้ำหลังอาหาร 30 นาที การจำกัดน้ำขณะรับประทานอาหารจะทำให้รับอาหารได้มากขึ้น
• เอนจอยอาหารมื้อดึก
• อาจลองดื่มอาหารเสริมสำเร็จรูปที่เอามาชงกับน้ำหรือน้ำผลไม้ก็ได้ ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือนักกำหนดอาหาร เพื่อเลือกอาหารเสริมที่เหมาะสมกับความต้องการบางคนอาจไม่มีความรู้สึกหิวเลย ซึ่งอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ความเจ็บป่วย ความเจ็บปวด ความเหนื่อยล้า ความเครียด ความซึมเศร้า ยาบางชนิด อากาศร้อนจัด หรือหลายๆ สาเหตุรวมกันซึ่งส่งผลไปที่สมองส่วนรับรู้ถึงความหิว และสมองส่วนนี้จะส่งสัญญาณว่า “ไม่หิว” ทั้งๆ ที่ถึงเวลาที่คุณควรจะหิวแล้วดังนั้นแม้ไม่หิวก็ต้องลองรับประทานให้ตรงเวลามื้ออาหาร อาจจะเริ่มจากอาหารปริมาณน้อยๆ ก่อน เมื่อร่างกายคุ้นเคยกับการรับประทานอาหารตรงเวลามากขึ้นค่อยปรับเพิ่มปริมาณ อาหารมากขึ้นคุณจิ๊บเหนื่อยล้า และมีความเครียดในการเลี้ยงดูลูกเล็ก และอาจมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย จึงอยากแนะนำให้จัดการกับภาวะต่างๆ เหล่านี้ อาจหาญาติพี่น้องมาช่วยดูแลลูกบ้าง หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เมื่อรู้สึกดีขึ้น อารมณ์ดี ก็จะทำให้มีความสุขกับการรับประทานอาหาร และจะรับอาหารได้มากขึ้น และอาจลองวิธีเรียกน้ำย่อยต่อไปนี้
• เลือกอาหารที่มีสีสัน กลิ่นหอม น่ารับประทาน
• ดื่มไวน์ 1 แก้ว ก่อนอาหาร แอลกอฮอล์มักช่วยเรียกน้ำย่อย (แต่ถ้าใครไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก็ไม่ต้องเริ่มเลย เลี่ยงวิธีนี้ก็ได้ค่ะ)
• ชวนเพื่อนฝูงมารับประทานอาหารที่บ้านด้วยกัน การรับประทานร่วมกับผู้อื่น มักทำให้การรับประทานนั้นสนุกและรับประทานได้มากขึ้น
• ซื้ออาหารที่ชอบมาเก็บไว้ที่บ้าน สำหรับมื้ออาหารปกติหรือมื้อว่าง
• เปลี่ยนบรรยากาศไปรับประทานอาหารที่อื่นของบ้าน เช่น ปูเสื่อที่สนาม ทำเป็นปิกนิคกับลูก หรือเปลี่ยนไปนั่งรับประทานอาหารในห้องรับแขก บางครั้งการเปลี่ยนสถานที่อาจช่วยได้บ้าง
• ออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านบ้าง เช่น เลือกร้านอาหารที่มีบริการอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ก็เรียกน้ำย่อยได้ดีไม่เบา
• พาลูกออกไปเดินเล่นก่อนมื้ออาหาร จะช่วยเรียกน้ำย่อยได้
• ตั้งเวลานาฬิกา เพื่อเตือนว่าถึงเวลาของมื้ออาหารแล้ว
• มื้ออาหารควรเป็นบรรยากาศที่สบาย เลี่ยงการสนทนาในเรื่องที่อาจเกิดการทะเลาะกันได้ โดยเฉพาะถ้าความเครียดเป็นปัญหาของคุณอยู่แล้ว
• เมื่อใดที่มีน้ำหนักตัวลดลงอย่างกะทันหันโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ แม้จะรับประทานอาหารในปริมาณปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคภัยไข้เจ็บบางอย่าง
จากน้ำหนักตัวคุณจิ๊บควรได้รับพลังงานวันละ 1,700-1,800 แคลอรี เพื่อให้เพิ่มน้ำหนัก ตัวอย่างเมนู 1,800 แคลอรี
เช้า
ขนมปัง 2 แผ่น,ทาเนยถั่ว หรือเนยงาดำ 2 ช้อนโต๊ะ ,น้ำผลไม้ 1 กล่อง
ว่างเช้า
น้ำเต้าหู้ ใส่งาดำบด 1 ช้อนโต๊ะ หรือน้ำผลไม้-โยเกิร์ตปั่น (smoothie) 1 แก้ว
กลางวัน
ข้าวผัดหมู 1 จาน หรือสปาเกตตี้ผัดฉ่าทะเล, น้ำผลไม้ปั่น หรือ นมเย็น 1 แก้ว
ว่างบ่าย
อาหารเสริมชงกับน้ำ 1 แก้ว (เช่น ไอโซคาล นูเทรน เป็นต้น)หรือถั่ว 1 กำมือ
เย็น
ข้าว 2 ทัพพี ,ปลาทอด 1 ชิ้น, ต้มยำกุ้งน้ำข้น, ผลไม้ 1 จาน ถ้าไม่อยากรับประทานให้ชงอาหารเสริม หรือทำน้ำปั่นดื่มแทนคาดว่าถ้าคุณจิ๊บหาวิธีจัดการกับความเครียดของตน และรับประทานอาหารตามที่แนะนำไปอาจรับประทานอาหารเสริมร่วมด้วย จะทำให้คุณจิ๊บมีแรงเลี้ยงลูก มีกำลังใจที่ดี และสนุกกับชีวิตและกับการรับประทานอาหารอย่างแน่นอน ในโปรแกรมเดียวกันนี้คุณจิ๊บก็จำเป็นต้องเพิ่มมวลกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลัง กายให้สม่ำเสมอและถูกต้อง จุดประสงค์ของการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัว (lean body mass) ดังนั้นการออกกำลังกายจะเน้น resistance training เป็นหลัก คือการใช้อุปกรณ์เครื่องเล่นต่างๆ ที่มีน้ำหนักให้เกิดแรงต้าน เช่น ดัมเบลล์ บาร์เบลล์ต่างๆ ส่วนการออกกำลังกายแบบแอโรบิคจะไม่เน้นมากในการเพิ่มน้ำหนัก ขอแนะนำว่าถ้าจะได้ผลในการเพิ่มมวลกล้ามเนื้ออย่างเห็นได้ชัด อาจเข้าฟิตเนสที่มีผู้ให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์สำหรับ resistance training สำหรับแต่ละส่วนของร่างกาย โปรแกรมการออกกำลังกาย :
Warm-up :
• เริ่มด้วยการอบอุ่นร่างกายโดยการเดิน หรือเดินเร็ว ประมาณ 5-10 นาที
• ตามด้วยการยืดกล้ามเนื้อมัดหลักๆ หรือส่วนที่จะใช้ในการออกกำลังกายต่อไป โดยแต่ละส่วนให้ทำการยืดค้างไว้ประมาณ 10-30 วินาที
• หรืออาจจะใช้วิธีการยกน้ำหนักเบาๆ ออกกำลังกล้ามเนื้อแต่ละส่วน ส่วนละประมาณ 12-15 ครั้งต่อเซต ไม่เกิน 2 เซต Resistance Training :
• ควรเริ่มออกกำลังทุกส่วนของร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดหลัก โดยเริ่มจากกล้ามเนื้อมัดใหญ่ไปหามัดเล็ก โดยเริ่มจากกลุ่มของกล้ามเนื้อขา หลัง อก ท้อง และแขน
• น้ำหนักที่ใช้ควรจะสามารถยกได้เต็มที่ 10-12 ครั้ง ในหนึ่งเซต
• ยก 2-3 เซต ในแต่ละท่า• โดยในแต่ละกลุ่มของกล้ามเนื้อสามารถออกกำลังกายได้ 2 ท่า
• ในแต่ละครั้งที่ออกกำลังกายให้ใช้อุปกรณ์ หรือท่าออกกำลังกายประมาณ 8-10 ท่า
• ควรจะต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ Cool-down :
• เน้นการยืดกล้ามเนื้อในส่วนที่ใช้ในการออกกำลังกายเป็นหลัก
• โดยทำการยืดค้างไว้ 15 -45 วินาที ในแต่ละกลุ่มของกล้ามเนื้อ