"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร
แมลงเม่า หมายถึง ปลวกในวัยเจริญพันธุ์ มีปีก ชอบบินเข้าเล่นแสงไฟในยามค่ำคืน และมักจบชีวิต
ในเปลวไฟ
นักลงทุนรายย่อย หมายถึง ผู้คนซึ่งพอจะมีสตางค์ ที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้น เพราะทนต่อความยั่วยวน
ของราคาหุ้นที่ขึ้นลงหวือหวาไม่ได้ สุดท้ายมักจะหมดตัวไปกับหุ้นปั่น
การเปรียบนักลงทุนรายย่อยว่าเป็นแมลงเม่า จึงเหมาะสมด้วยประการฉะนี้
โดยสรุปของการปั่นหุ้น คือ การล่อ และลวงนักลงทุนรายย่อยให้เข้าไปซื้อหรือขายหุ้นที่มีราคาสูงหรือต่ำ
กว่าสภาวะปกติ โดยเจตนาไม่สุจริต
ลักษณะของหุ้นที่นิยมปั่น
1. มีมูลค่าทางตลาด ( MARKET CAPITALISATION ) ต่ำจะได้ไม่ต้องใช้จำนวนเงินมากในการไล่ราคา
2. มีปัจจัยพื้นฐานยังไม่ดี เพื่อที่นักลงทุนสถาบันจะไม่เข้ามาซื้อขายด้วย ซึ่งจะทำให้ยากต่อการควบคุม
ปริมาณ และราคาหุ้น
3. มีราคาต่อหุ้น ( MARKET PRICE ) ต่ำ ถ้าราคาต่ำกว่า 10 บาทยิ่งดี ด้วยเหตุผลสองประการ
หนึ่ง เป็นผลทางจิตวิทยา เช่น หุ้นถูกไล่ราคา จาก 3 บาท เป็น 6 บาท ถึงแม้ราคาจะปรับขึ้นมา 100%
แล้ว แต่คนยังรู้สึกว่าไม่แพง เพราะยังถูกกว่าราคาพาร์ ( PAR )
สอง ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นนักลงทุนสถาบัน มักมีต้นทุนที่ราคาพาร์ หรือสูงกว่า แม้หุ้นจะขึ้นมามาก แต่ถ้าเขา
เชื่อว่าแนวโน้มของธุรกิจดีเขามักจะไม่ขาย ( ถ้าแนวโน้มธุรกิจไม่ดี เขาก็ขายทิ้งไปนานแล้ว ) ดังนั้น จึง
ไม่ต้องกังวลว่านักลงทุนสถาบันจะเข้ามาแทรกแซงในการซื้อขาย
4. มีจำนวนหุ้นหมุนเวียนน้อย เพื่อความมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมปริมาณหุ้นได้ตามที่ต้องการ
5. ผู้ถือหุ้นใหญ่รู้เห็นเป็นใจ หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ถือหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว จึงไม่สนใจเมื่อราคาหุ้นขึ้น
หรือลงหวือหวา
6. มีข่าวดีมารองรับ ระยะหลังเริ่มมีการใช้ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นมาเป็นตัวล่อใจนักลงทุนรายย่อย เพื่อให้
ตายใจว่าราคาหุ้นถูกไล่ขึ้นมาสมเหตุสมผล เช่น ข่าวการปรับโครงสร้างหนี้ ,ข่าวการร่วมกิจการ , กำไรราย
ไตรมาสที่พุ่งขึ้นสูงเป็นต้น
ขั้นตอนในการปั่นหุ้น
1) การเลือกตัวหุ้น
นอกจากจะต้องเลือกตัวหุ้นที่มีลักษณะตามที่กล่าวไว้เบื้องต้นแล้ว ยังต้องมีการนับหุ้นด้วยว่าหุ้น
ตัวนี้ตอนนี้มีใครถืออยู่ในสัดส่วนเท่าไร หากจะเข้ามาปั่นหุ้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือนักลงทุนสถาบันจะเขา้
มาแทรกแซงหรือไม่ ถ้าผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ความร่วมมือด้วยก็จะง่ายขึ้น
2)การกระจายเปิดพอร์ตการลงทุน
จะเปิดพอร์ตกระจายไว้สัก 4 - 5 โบรกเกอร์ ในชื่อที่แตกต่างกัน มักจะใช้ชื่อคนอื่นที่ไว้ใจได้เช่น
คนขับรถ , เสมียน , คนสวน เพื่อป้องกันไม่ให้โยงใยมาถึงตนได้
3)การเก็บสะสมหุ้น
มีหลายวิธีทั้งวิธีสุจริต และผิดกฎหมายในลักษณะการลวงให้คนทั่วไปเข้าใจว่า ราคาหุ้นตัวนั้นไม่
มีการเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปการเก็บสะสมหุ้น มีวิธีดังต่อไปนี้
การทยอยรับหุ้น เมื่อเห็นว่าราคาหุ้นลงมามากแล้ว ก็ใช้วิธีทยอยซื้อหุ้นแบบไม่รีบร้อนวันละหมื่น
วันละแสนหุ้น ขึ้นกับว่าหุ้นตัวนั้นมีสภาพคล่องมากน้อยขนาดไหน วิธีนี้เป็นวิธีสุจริตไม่ผิดกฎหมายจะใช้
เวลาในการเก็บหุ้นตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน
การกดราคาหุ้น ถ้าระหว่างที่กำลังเก็บสะสมหุ้นยังไม่ได้ปริมาณที่ต้องการ เกิดมีข่าวดีเข้ามาหรือ
ตลาดหุ้นเปลี่ยนเป็นขาขึ้น เริ่มมีรายย่อยเข้ามาซื้อหุ้นตัวนี้ ก็จะใช้วิธีขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมาเป็นการ
ข่มขวัญนักลงทุนรายย่อย ถือเป็นการวัดใจ นักลงทุนรายย่อยมักมีอารมณ์อ่อนไหว เห็นว่าถือหุ้นตัวนี้อยู่
2 - 3 วันแล้วหุ้นยังไม่ไปไหน แถมยังมีการขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมาก็จะขายหุ้นทิ้งแล้วเปลี่ยนไปเล่น
ตัวอื่นแทน สุดท้ายหุ้นก็ตกอยู่ในมือรายใหญ่หมด วิธีนี้จะใช้เวลา 5 - 10 วัน
การเก็บแล้วกด วิธีนี้มักใช้เมื่อมีข่าววงใน ( INSIDE NEWS )ว่า หุ้นตัวนี้กำลังจะมีข่าวดีเข้ามา
หนุน ถ้าหุ้นตัวนั้นไม่มีสภาพคล่อง จะใช้วิธีโยนหุ้นไปมาระหว่างพอร์ตของตนที่เปิดทิ้งไว้
รายย่อยเมื่อเห็นว่าเริ่มมีการซื้อขายคึกคัก ก็จะเข้าผสมโรงด้วย คนที่ถือหุ้นอยู่แล้ว ก่อนนี้ไม่มีสภาพคล่อง
จะขายหุ้นก็ขายไม่ได้ไม่มีคนซื้อ พอมีปริมาณซื้อขายมากขึ้นก็รีบขายหุ้นออก บางคนถือหุ้นมาตั้งแต่บาท
หุ้นตกลงมาถึง 5 บาท พอเห็นหุ้นตีกลับขึ้นไป 5.5 บาท ก็รีบขายออก คิดว่าอย่างน้อยตนก็ไม่ได้ขายที่
ราคาต่ำสุด ช่วงนี้รายใหญ่จะเก็บสะสมหุ้นให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาประมาณ 5 วันทำการ
ขณะเดียวกันต้องคอยดูแลไม่ให้หุ้นมีราคาขึ้นไปเกิน 10 % เพื่อไม่ให้ต้นทุนของตนสูงเกินไปถ้าเกิดราคา
สูงขึ้นมากจะใช้วิธีโยนขายหุ้นล็อตใหญ่ๆ ออกมาโดยให้พวกเดียวกันที่ตั้งซื้อ ( BID ) อยู่แล้วเป็นคนรับ
เมื่อได้จำนวนหุ้นตามที่ต้องการแล้วสุดท้ายจะกดราคาหุ้นให้ต่ำลงมายังจุดเดิม โดยใช้วิธีโยนขายหุ้นโดย
ให้พวกเดียวกันตั้งซื้อเหมือนเดิมแต่จะทำอย่างหนักหน่วง และรวดเร็วกว่า ทำให้ราคาหุ้นลดอย่างรวดเร็ว
ช่วงนี้จะใช้เวลา 3 - 5 วัน รายย่อยบางคนคิดว่าหมดรอบแล้ว จะรีบขายหุ้นออกมาด้วย
รายใหญ่ก็จะมาตั้งรับที่ราคาต่ำอีกครั้ง ช่วงนี้จะตั้งรับอย่างเดียว ไม่มีการไล่ซื้อหรือไม่ก็หยุดการซื้อขายไป
เลยให้เรื่องเงียบสัก 4 - 5 วันเป็นการสร้างภาพว่าก่อนข่าวดีจะออกมาไม่มีใครได้ข่าววงในมาก่อนเลย รอ
จนวันข่าวดีประกาศเปน็ ทางการ จึงค่อยเข้ามาไล่ราคาหุ้น
วิธีสังเกตว่าในขณะนั้นเริ่มมีการสะสมหุ้นแล้วคือ ปริมาณซื้อขายจะเริ่มมากขึ้นผิดปกติ จากวันละไม่กี่หมื่น
หุ้น เป็นวันละหลายแสนหุ้น ราคาเริ่มจะขยับแต่ไปไม่ไกลประมาณ 5-10% มองดูเหมือนการโยนหุ้นกัน
มากกว่า กดราคาหุ้นจนกว่าจะเก็บได้มากพอ แล้วค่อยไล่ราคาหุ้น
ข้อระวังอย่างหนึ่ง คือ มีหุ้นบางตัวโดยเฉพาะหุ้นตัวเล็กๆ นักลงทุนรายใหญ่มีข่าวอินไซด์ว่า ผล
ประกอบการงวดใหม่ที่จะประกาศออกมาแย่มาก หากภาวะการซื้อขายหุ้นตอนนั้นซึมเซา เขาจะเข้ามาไล่
ซื้อโยนหุ้นกันระหว่าง 2-3 พอร์ตที่เขาเปิดไว้ ให้ดูเหมือนรายใหญ่เริ่มเข้ามาเก็บสะสม หุ้นรายย่อยจะแห่
ตาม รุ่งขึ้นรายใหญ่จะเทขายหุ้นขนานใหญ่ รายย่อยเริ่มลังเลใจ ขอดูเหตุการณ์อีกวัน
พอผลประกอบการประกาศออกมา ราคาก็หุ้นดิ่งเหวแล้ว รายย่อยจึงถูกดึงเข้าติดหุ้นราคาสูงในที่สุด
4) การไล่ราคาหุ้น
เมื่อได้ปริมาณหุ้นมากพอ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการไล่ราคา แต่การไล่ราคาต้องหาจังหวะที่
เหมาะสมเหมือนกัน หากจังหวะนั้น ไม่มีเหตุผลเพียงพอ รายย่อยก็จะขายหุ้นทิ้งเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปสูง
พอประมาณ แต่หากหาเหตุผลมารองรับได้ รายย่อยจะยังถือหุ้นไว้อยู่ เพราะเชื่อว่าราคาหุ้น น่าจะสูงกว่านี้
อีก กว่าจะรู้สึกตัว ปรากฏว่ารายใหญ่ขายหุ้นทิ้งหมดแล้ว
เหตุผลหรือจังหวะที่ใช้ในการไล่ราคา มักจะใช้ 3 เรื่องนี้
ภาวะตลาดรวมเริ่มเป็นขาขึ้น
กราฟทางเทคนิคของราคาหุ้นเริ่มดูดี
มีข่าวลือ ซึ่งปล่อยโดยนักปั่นหุ้นว่า หุ้นตัวนี้กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงทางพื้นฐานไปในทางที่ดี
ขึ้น
การไล่ราคา คือ การทำให้ราคาปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีการคือ จะมีการเคาะซื้อครั้งละมากๆ แบบ
ยกแถว แล้วตามด้วยการเสนอซื้อ ( BID ) ยันครั้งละหลายๆ แสนหุ้นจนถึงล้านหุ้น เพื่อข่มขวัญไม่ให้ราย
ย่อยขายสวนลงมา
รายย่อยเห็นว่าแรงซื้อแน่น จะถือหุ้นรอขายที่ราคาสูงกว่านี้ รายใหญ่บางคนอาจจะแหย่รายย่อยด้วย
การเทขายหุ้นครั้งละหลายแสนหุ้น เหมือนแลกหมัดกับหุ้นที่ตนเองตั้งซื้อไว้เอง รายย่อยอาจเริ่มสับสนว่า
มีคนเข้ามาซื้อแต่เจอรายใหญ่ขายสวน ราคาจึงไม่ไปไหน สู้ขายทิ้งไปเสียดีกว่า รายใหญ่จะโยนหุ้นแหย่
รายย่อยอยู่สัก 1-2 ชั่วโมง จากนั้นจะตามมาด้วยการไล่ราคาอย่างจริงจังทีละขั้นราคา ( STEP )
ถ้าหุ้นที่ปั่นเป็นหุ้นตลาด คนชอบซื้อขายกัน การไล่ราคาจะไล่แบบช้าๆ แต่ปริมาณ ( VALUME ) จะ
สูงราคาเป้าหมายมักจะสูงขึ้นประมาณ 20-25% หากภาวะตลาดกระทิง ราคาเป้าหมายอาจจะสูงถึง 50%
แต่ถ้าหุ้นที่ปั่นเป็นหุ้นตัวเล็กพื้นฐานไม่ค่อยดี ปริมาณการซื้อในช่วงเวลาปกติมีไม่มาก การไล่ราคาจะทำ
อย่างรวดเร็ว ราคาเป้าหมายมักจะสูงถึง 40-50% ถ้าเป็นภาวะกระทิง ราคาเป้าหมายอาจขยับสูงถึง
100%
ช่วงไล่ราคานี้ อาจจะกินเวลา 3 วันถึง 1 เดือน ขึ้นกับว่าเป็นหุ้นอะไร ภาวะตลาดอย่างไร เช่น ถ้า
เป็นหุ้นเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐานจะกินเวลาสั้น แต่ถ้าเป็นหุ้นพื้นฐานดีจะใช้เวลานานกว่า และถ้าเป็นภาวะ
กระทิง นักปั่นหุ้นจะยิ่งทอดเวลาออกไปเพื่อให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงที่สุดเท่าที่ตั้งเป้าเอาไว้
ในช่วงต้นของการไล่ราคา นักลงทุนรายใหญ่อาจยังคงมีการสะสมหุ้นเพิ่มอยู่บ้าง แต่รวมกันต้อง
ไม่เกิน 5% ของทุนจดทะเบียนในแต่ละพอร์ตที่ใช้ปั่นหุ้นอยู่ พอปลายๆ มือจะใช้วิธีไล่ราคาแบบไม่เก็บ
ของ คือตั้งขายเอง เคาะซื้อเอง เมื่อซื้อได้ ก็จะนำหุ้นจำนวนนี้ย้อนไปตั้งขายอีกในราคาที่สูงขึ้น และเคาะ
ซื้อตามอีก
ทำเช่นนี้หลายๆ รอบ สลับกันไปมาระหว่างพอร์ตต่างๆของตนเอง ค่อยๆ ดันราคาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
หากมีหุ้นของรายย่อยถูกซื้อติดเข้ามาจนรู้สึกว่าเป็นภาระมากเกินไป ก็อาจมีการเทขายระบายของออกไป
บ้างแต่เป็นการขายไม้เล็กๆ ในลักษณะค่อยๆ รินออกไป เพื่อไม่ให้นักลงทุนรายย่อยตกใจเทขายตามมาก
เกินไปตัวหุ้นเองจะได้มีการปรับฐานตามหลักเทคนิค เพื่อจูงใจนักลงทุนรายใหม่ที่ยังไม่ได้ซื้อจะได้กล้า
เข้ามาซื้อ
5) การปล่อยหุ้น
เมื่อหุ้นขึ้นมาได้ 80% ของราคาเป้าหมายแล้ว ระยะทางที่เหลืออีก 20% ของราคาคือช่วงของ
การทยอยปล่อยหุ้น ช่วงนี้จะเป็นช่วงชี้เป็นชี้ตายการลงทุนของนักปั่นหุ้น ถ้าทำพลาดนักลงทุนรายย่อย
รู้เท่าทัน หรือตลาดไม่เป็นใจ เช่น เกิดสงครามโดยไม่คาดฝัน นักปั่นหุ้นเองที่จะเป็นผู้ติดหุ้นอยู่บนยอดไม้
จะขายก็ไม่มีใครมารับซื้ออาจต้องรออีก 6 เดือนถึง 1 ปีกว่าจะมีภาวะกระทิงเป็นจังหวะให้ออกของได้อีก
ครั้ง อีกทั้งอาจจะไม่ได้ราคาดีเท่าเดิมหรือถึงกับขาดทุนก็ได้
วิธีการปล่อยหุ้น เริ่มจากการรอจังหวะที่ข่าวดีจะประกาศออกมาเป็นทางการ นักปั่นหุ้นซึ่งรู้มา
ก่อนแล้วจะเริ่มไล่ราคาอย่างรุนแรง 4-5 ช่วงราคา มีการโยนหุ้นเคาะซื้อเคาะขายกันเองครั้งละหลายแสน
หุ้นปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพื่อดึงดูดความสนใจของรายย่อย
เมื่อรายย่อยเริ่มเข้าผสมโรง นักลงทุนรายใหญ่จะตั้งขายหุ้นในแต่ละช่วงราคาไว้หลายๆ แสนหุ้น
และจะเริ่มเคาะนำ ส่งสัญญาณไล่ซื้อครั้งละ 100 หุ้นบ้าง 3,000 หุ้นบ้างหรือแม้แต่ครั้งละ 100,000 หุ้น
หลายๆ ครั้ง เมื่อหุ้นที่ตั้งขายใกล้หมด เขาจะเคาะซื้อยกแถวพร้อมกับตั้งซื้อยันรับที่ราคานั้นทันที ครงั้ ละ
หลายแสนหุ้น ถามว่าเขาตั้งซื้อครั้งละหลายแสนหุ้น เขากลัวไหมว่าจะมีคน หรือนักลงทุนสถาบันขายสวน
ลงมา คำตอบคือ กลัว แต่เขาก็ต้องวัดใจดูเหมือนกัน หากมีการขายสวนก็ต้องใช้วิธีเคาะซื้อแต่ไม่ใช้วิธีตงั้
ซื้อ นักลงทุนรายย่อยเมื่อสังเกตว่ามีการไล่ซื้อ จะเข้ามาซื้อตาม นักลงทุนรายใหญ่ซึ่งคอยนับหุ้นอยู่พอ
เห็นมีเหยื่อมาติด จะเคาะนำที่ราคาใหม่ที่สูงขึ้นอีก แต่เพื่อให้ไม่ต้องซื้อหุ้นเข้ามาเพิ่ม เขาจะเคาะซื้อไม้
หนักๆ ก็ต่อเมื่อหุ้นที่ตั้งขายอยู่เป็นหุ้นในกลุ่มของตนเอง สมมติตนเองตั้งขายไว้ 500,000 หุ้น เมื่อได้รับ
การยืนยันจากเทรดเดอร์ว่า เริ่มมีการเคาะซื้อ จากนักลงทุนอื่น ถึงคิวหุ้นของตนแล้ว เช่นอาจมีคนเคาะซื้อ
เข้ามา 10,000 หุ้น เขาจะทำทีเคาะซื้อเองตามอีก 200,000 หุ้นเพื่อให้รายย่อยฮึกเหิม เมื่อซื้อแล้วเขาก็
จะเอาหุ้น 200,000 หุ้นนี้มาตั้งขายใหม่ ยอมเสียค่านายหน้า ซื้อมาขายไปเพียง 0.5% แต่ถ้าสำเร็จจะได้
กำไรตั้ง 50-100% เพราะฉะนั้นการไล่ซื้อช่วงนี้จึงเป็นการซื้อหนักก็ต่อเมื่อ ซื้อหุ้นตนเองตบตารายย่อย
ขณะที่ค่อยๆ เติมหุ้นขายไปทีละแสนสองแสนหุ้น
ส่วนการตั้งซื้อ ( BID ) ที่ตบตารายย่อยว่าแรงซื้อแน่นนั้น หากสังเกตดีๆจะพบว่าเมื่อตั้งซื้อเข้ามาสองแสน
หุ้น สามแสนหุ้น สักพักจะมีการถอนคำสั่งซื้อออกแล้วเติมเข้ามาใหม่เพื่อให้การซื้อนั้นไปเข้าคิวใหม่อยู่คิว
สุดท้าย และจะทำอย่างนี้หลายๆ ครั้ง นักลงทุนรายย่อยที่ตั้งซื้อเข้ามา จะถูกดันไปอยู่คิวแรกๆ หมด และ
ถ้าเขาเห็นว่านักลงทุนอื่น มีการตั้งซื้อเข้ามามากพอสมควรแล้ว นักลงทุนรายใหญ่ก็จะมีการเทขายสลับ
เป็นบางครั้ง เรียกได้ว่ามีทั้งการตั้งขายและเคาะขายพร้อนกันเลยทีเดียว
หากจะสรุปวิธีการที่ใช้ในช่วงปล่อยหุ้นนี้ สามารถแบ่งออกได้ 4 วิธีการย่อย
1. มีการตั้งขายหุ้น ( OFFER ) ไว้ล่วงหน้า หลายแสนหุ้นในแต่ละขั้นเวลา
2. เริ่มเคาะซื้อนำครั้งละ 100 หุ้น 2-3 ครั้ง และจะเคาะซื้อหนักๆ ก็ต่อเมื่อหุ้นที่ตั้งขาย ( OFFER ) เป็นหุ้น
ในกลุ่มของตน เมื่อซื้อได้จะรีบนำมาตั้งขายต่อ และจะมีการเติมขายหุ้นตลอดเวลา
3. เมื่อหุ้นที่เสนอขาย ( OFFER ) ใกล้หมดจะเคาะซื้อยกแถว แล้วตั้งเสนอขาย ( BID )เข้ามายันหลาย
แสนหุ้น แต่จะทยอยถอนออกแล้วเติมเข้าตลอดเวลา
4. เมื่อหุ้นของคนอื่นที่ตั้งซื้อ ( BID ) มีจำนวนมากพอจะมีการเทขายสวนลงมาเป็นจังหวะๆ
เขาจะทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ หุ้นในพอร์ตของตนเอง จะค่อยๆ ถูกระบายออกไป และในสุดท้ายเมื่อ
ข่าวดี ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ในวันรุ่งขึ้น เขาจะทำทีเคาะไล่ซื้อหุ้นตนเองอย่างหนัก แต่จะไม่ตั้ง
ซื้อแล้ว เพราะกลัวถูกขาย ดังนั้นจึงเป็นภาพเหมือนมีคนมาไล่ซื้ออย่างรุนแรง แล้วอยู่ๆ ก็หยุดไปเฉยๆ
ถามว่าแล้วเขาปล่อยหุ้นไปตอนไหน คำตอบคือ เขาทยอยตั้งขายไปในระหว่างที่เขาทำทีซื้อนั่นเอง
ผู้เคราะห์ร้าย คือ รายย่อยที่ไปเคาะซื้อตาม แต่รีรอที่จะขายเพราะเห็นว่ายังมีแรงซื้อแน่นอยู่ สุดท้ายต้อง
ติดหุ้นในที่สุด
วิธีสังเกตเมื่อมีการปั่นหุ้น
1) มีข่าวดีมา แต่ราคาหุ้นไม่ไปทั้งๆ ที่มีปริมาณการซื้อขายมากขึ้น เหมือนมีคนกดราคาอยู่ (เพื่อเก็บของ)
2) หลังจากนั้น มีการไล่ราคาอย่างรวดเร็วรุนแรง ปริมาณการซื้อขายพุ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
3) จำนวนหุ้นที่ตั้งซื้อ (BID) มีการเติมเข้าถอนออกอยู่ตลอดเวลา
4) การเคาะซื้อไล่ราคาจะมีการเคาะนำครั้งละ 100 หุ้น 2-3 ครั้ง จากนั้นจะเป็นการไล่เคาะซื้อยกแถว
5) หลังจากหุ้นขึ้นมานานแล้ว พอมีข่าวดีมา จะเห็นการเคาะซื้อครั้งละมากๆแต่การตั้งซื้อ (BID) ไม่
หนาแน่น
หมายเหตุปั่นหุ้น
1) สมัยก่อนหุ้นปั่นจะเป็นหุ้นตัวเล็กที่พื้นฐานไม่ดี ปัจจุบันนี้ หุ้นปั่นจะเป็นหุ้นตัวเล็ก หรือหุ้นที่มสี ภาพ
คล่องน้อยแต่พื้นฐานดี เนื่องจากนักลงทุนรายย่อยฉลาดขึ้น แต่สุดท้ายก็ถูกหลอกอยู่ดี
2) นักลงทุนรายย่อยจะไม่สนใจหุ้นพื้นฐานดี แต่ไม่มีสภาพคล่อง แต่จะชอบหุ้นปั่น (ทั้งๆ ที่รู้ว่าปั่น) เพราะ
ราคาวิ่งทันใจดี ส่วนใครออกตัวไม่ทัน ติดหุ้น เขาจะโทษตัวเองว่า โชคไม่ดีไหวตัวไม่ทันเอง
3) นักลงทุนรายย่อยจะไม่ซื้อหุ้นที่ขาดสภาพคล่อง ถึงแม้จะมีพื้นฐานดีแต่จะรอจนมีคนไปไล่ซื้อหุ้นให้มี
ปริมาณซื้อขายคึกคักและราคาขยับสัก 5%-10% แล้วจึงเข้าไปผสมโรงเพราะทุกคนมีคติว่า
"ขาดทุนไม่กลัว กลัวติดหุ้น" (หุ้นขาดสภาพคล่อง)
4) นักลงทุนรายย่อยจะภาคภูมิใจหากสามารถซื้อขายหุ้นในวันเดียวแล้วได้กำไรเล็กๆ น้อยๆ สัก 1-2%
มากกว่าซื้อหุ้นไว้ 1 ปีแล้วกำไร 20%-30% เพราะคิดว่าการซื้อขายหุ้นในวันเดียวแล้วได้กำไรต้องใช้ฝีมือ
มากกว่า (ทั้งที่จากเฉลี่ยทั้งปีแล้วมักขาดทุน)
5) หุ้นหลายๆ ตัวในตลาดหลักทรัพย์ มีนักลงทุนรายใหญ่คอยดูแล เวลามีข่าวดีต่อหุ้นตัวนั้นเข้ามา ถ้าคน
ดูแลไม่ต้องการให้ราคาหุ้นปรับขึ้น หุ้นตัวนั้นก็จะถูกกดราคาไว้แต่ถ้าคนดูแลเข้ามาไล่ราคาหุ้นเมื่อไร ห้นุ ก็
จะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นทันทีและข่าวหนังสือพิมพ์จะออกมาว่า นักลงทุนตอบรับข่าว
ดีของหุ้นตัวนั้น จึงได้เข้ามาซื้อเก็บเอาไว้ ทั้งๆ ที่ หลายๆ ครั้งเป็นการทำราคาของรายใหญ่เพียงรายเดียว
ที่เป็นผู้กำหนดทิศทางของหุ้นตัวนั้นว่าจะขึ้นหรือลง
6) นักปั่นหุ้นจะกลัวสภาวะตลาดมากกว่า ก.ล.ต. (คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์)
เนื่องจากก.ล.ต. ไม่เคยลงโทษนักปั่นหุ้นรายใหญ่ได้ แต่เขาจะกลัวว่า ถ้าคาดการณ์ภาวะตลาดผิด ตนเอง
จะติดหุ้นเอง
7) เหตุผลที่นักปั่นหุ้นต้องใช้ชื่อคนอื่น ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป เป็นตัวแทนในการถือหุ้น (NOMINEE) ช่วยซื้อ
ขายหุ้นนั้น เพื่อไม่ต้องการให้ทางการสาวเรื่องมาถึงตนได้ ขณะเดียวกัน ก็ต้องการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์การ
ถือหุ้นเกินคนละ 5% ของทุนจดทะเบียน ที่ต้องแจ้งเรื่องนี้กับ ก.ล.ต.เพื่อเผยแพร่ต่อนักลงทุนทั่วไปด้วย
จังหวะที่ใช้ในการปั่นหุ้น
1) เมื่อหุ้นตัวนั้นราคาตกลงมาจนราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานมาก ในภาวะตลาดขาลงนักลงทุนรายใหญ่จะ
ทยอยสะสมหุ้นแบบไม่รีบร้อน เมื่อตลาดกลับเป็นขาขึ้น จะมีการไล่ราคาหุ้นอย่างรวดเร็วแล้วทยอยขาย ปี
หนึ่งทำได้สัก 2-3 รอบ ก็คุ้มค่าต่อการรอคอยแล้ว
2) เมื่อมีข่าวที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้น โดยทั่วไปนักลงทุนรายใหญ่จะรู้เห็นข่าววงใน
ก่อน (INSIDER) และซื้อหุ้นเก็บไว้ เมื่อข่าวดีออกมาจะมีการไล่ราคาแล้วขายหุ้นออกไป หรือในทาง
ตรงกันข้าม หากมีข่าวปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนั้นแย่ลงมาก เช่น ใกล้หมดอายุการใช้สิทธิของ
WARRANT, ข่าวขาดทุนรายไตรมาส, ข่าวบริษัทลูกขาดทุนจะเป็นการปั่นหุ้นรอบสั้นๆ เพื่อออกของ หรือ
หากได้ปล่อยขายไปเกือบหมดแล้ว จะใช้วิธีทุบหุ้นเพื่อเก็บของถูกแล้วรอปั่นในรอบถัดไป
3) ปลายตลาดขาขึ้น เมื่อหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี (BLUE CHIP) ทุกกลุ่มถูกนักลงทุนไล่ซื้อจนราคาหุ้นขึ้นมา
สูงหมดแล้ว โดยทั่วไปจะไล่เรียงจากหุ้นกลุ่มใหญ่ๆ เช่น กลุ่มธนาคาร ไฟแนนซ์ ที่ดินวัสดุกอ่ สร้าง
สื่อสาร และพลังงาน เมื่อนักลงทุนหมดตัวเล่น รายใหญ่จะเข้ามาปั่นหุ้นตัวเล็กๆที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดีราคา
ต่ำ รายย่อยจะเข้าผสมโรงเพราะเห็นว่าหุ้นกลุ่มนี้ยังขึ้นไม่มากซึ่งโดยทั่วไปเมื่อหุ้นตัวเล็กๆ ถูกนำขึ้นมา
เล่นไล่ราคา มักเป็นสัญญาณว่าหมดรอบของภาวะขาขึ้นแล้ว (เพราะถ้าหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี ราคายังต่ำกว่า
ความเป็นจริงนักลงทุนก็ยังพุ่งเป้าซื้อขายหุ้นกลุ่มนี้อยู่ จนกระทั่งราคาหุ้นขึ้นสูงเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานแล้ว
จึงละทิ้งไปเล่นหุ้นปั่น เมื่อราคาหุ้นโดยรวมสูงเกินปัจจัยพื้นฐานตลาดหุ้นย่อมพร้อมที่จะปรับฐานได้
ตลอดเวลา)
บทสรุป
ตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นแหล่งระดมทุนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา
เศรษฐกิจและความเจริญของประเทศชาติประชาชนทุกคนได้รับโอกาสให้นำเงินออมเข้ามาลงทุนกับ
บริษัทชั้นดีในตลาดหลักทรัพย์หากเขาเหล่านั้นลงทุนด้วยความรู้ ความเข้าใจ ย่อมสามารถสร้างผลกำไร
และความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว แต่ถ้าเข้ามาลงทุนด้วยวิธีเก็งกำไรโดยปราศจากความรู้ ย่อมมี
โอกาสตกเป็นเหยื่อของนักปั่นหุ้นที่มีอยู่มากมายในตลาดหุ้นได้
เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว เปรียบได้ดั่งสายฝนซู่ใหญ่ที่พัดสาดเข้ามาอีกครั้งแสงระยิบระยับของกระดานหุ้น
เร้าใจแมลงเม่าไม่แพ้แสงไฟในฤดูฝนเหล่าแมลงเม่าน้อยใหญ่พากันโบยบินเข้าตลาดหุ้นและแล้วตำนาน
เรื่องเดิมของเหล่าแมลงเม่าก็เริ่มต้นอีกครั้ง
จากหนังสือ ? กลโกงการเงิน? โดยคุณบรรยง วิทยวีรศักดิ์
Saturday, February 15, 2014
"ปั่นหุ้น" เขาทำกันอย่างไร
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment