Sunday, September 13, 2009

นอนกรน แก้ไขได้ไม่ใช่เรื่องน่าอาย


นอนกรน เป็นภาวะผิดปกติอย่างหนึ่งของการนอนที่ไม่ควรละเลย เพราะผลกระทบจากการนอนกรนสร้างปัญหาต่อการดำเนินชีวิต และปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพมากมาย
นอนกรน......เกิดได้อย่างไร

อาการนอนกรนนี้ คนปกติสามารถเป็นได้ไหม ??

คำตอบทางการแพทย์ถือว่า การนอนกรนเป็นสิ่งผิดปกติ คนทั่วไปเข้าใจว่าคนมีอายุ อาจนอนกรนบ้างเวลาหลับสนิทและเป็นเรื่องธรรมดา อันนี้ไม่ถูกต้อง แท้ที่จริงแล้ว นอนกรนเป็นอาการที่ชี้บ่งว่าทางเดินหายใจของคนๆ นั้นแคบ เวลาลมหายใจผ่านบริเวณช่องคอตรงที่แคบนั้น จะเกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อ ทำให้เกิดเป็นเสียงกรน ยิ่งถ้ามีปัญหาแน่นจมูก ต้องอ้าปากเวลานอน จะยิ่งทำให้นอนกรนได้มากขึ้นไปอีก

การนอนกรนมีทั้งประเภทที่อันตราย และไม่เป็น อันตราย ซึ่งมีลักษณะดังนี้

1. ประเภทที่ไม่เป็นอันตราย คือ การกรนที่ทำให้เกิดเสียงรบกวน แต่ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ กลุ่มนี้มักมีการอุดกั้นทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย

2. ประเภทที่อันตราย เกิดจากการที่มีทางเดินหายใจแคบมากในเวลาหลับ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะมีเสียงกรนที่ไม่สม่ำเสมอ โดยขณะที่ยังหลับไม่สนิทจะยังเป็นการกรน ที่สม่ำเสมอ แต่เมื่อหลับสนิทจะเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ มีเสียงกรน ที่ไม่สม่ำเสมอ โดยจะมีช่วงที่กรนเสียงดัง และค่อยสลับกันเป็นช่วงๆ และจะ กรนดังขึ้นเรื่อยๆ และจะมีช่วงหยุดกรนไปชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นในช่วง ที่เกิดการหยุดหายใจ

อันตรายจากการนอนกรนที่มีการหยุดหายใจขณะหลับ

1. ร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกนอนไม่พอ ทำให้เกิดอาการง่วงนอน

2. ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความสามารถในการจดจำลดลง หงุดหงิด อารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ

3. มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคของหลอดเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด (อาจทำให้เสียชีวิตทันที เพราะเกิดภาวะหยุดหายใจในช่วงนอนหลับ ที่ชาวบ้านเรียกว่าไหลตาย)

4. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

การตรวจวินิจฉัยการนอนกรน

1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์อย่างละเอียด

2. ตรวจพิเศษในท่านอน โดยกล้องส่องตรวจหลอดลมชนิดอ่อนตัวได้ บริเวณโพรงหลังจมูก ตำแหน่งเพดานอ่อนและโคนลิ้น

3. เอ็กซเรย์ เพื่อหาตำแหน่งที่ตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนบน

4. ตรวจ Sleep Test (Polysomnography) เป็นการตรวจ การหายใจสัมพันธ์กับการทำงานของหัวใจและสมองขณะหลับ (ผู้ป่วย จะต้องนอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชม. ขณะทำการตรวจ และต้องนอน รับการตรวจในโรงพยาบาล) โดยจะตรวจดูภาวะต่างๆ ดังนี้

- การตรวจดูการทำงานของหัวใจด้วยการตรวจคลื่นหัวใจ ความดันโลหิต ระดับออกซิเจนในหลอดเลือดแดง

- การตรวจคลื่นสมองหาระดับลึกของการหลับ เพื่อดูความผิดปกติ ขณะที่มีการหยุดหายใจ และประสิทธิภาพการนอน

- การตรวจนับจำนวนครั้งของการหายใจ ความถี่และระยะเวลาที่เกิด ภาวะหยุดหายใจ

- การตรวจเสียงกรน ว่ากรนดังค่อยแค่ไหน ตลอดเวลาหรือไม่ กรนขณะนอนท่าไหน

การรักษาการนอนกรน

1. การควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ และออกกำลังกายเพื่อให้ ร่างกายและกล้ามเนื้อแข็งแรง

2. หลีกเลี่ยงการนอนหงายโดยพยายามนอนในท่าตะแคงข้าง และนอน ศีรษะสูงเล็กน้อย

3. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับ หรือยา กล่อมประสาทก่อนนอน

4. กรณีที่เป็นการนอนกรนชนิดอันตรายที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย รักษาโดย

- เครื่องช่วยหายใจ CPAP เครื่องครอบจมูกขณะหลับ เพื่อทำให้ หายใจสะดวกขึ้น

- Radiofrequency จี้กระตุ้นให้เพดานอ่อนหดตัวลง โคนลิ้นหด ตัวลง

- การผ่าตัด เอาส่วนที่ยืดยานออก

No comments: