คอมพิวเตอร์นั้นมี Form Factor ที่แตกต่างกัน. AT และ ATX นั้นเป็นมาตราฐานทั่วไป. NLX และ LPX นั้นเป็นสองแบบที่แตกต่างออกไป. ซึ่ง Form เหล่านี้จะอธิบายถึงรูปร่างและขนาดของเมนบอร์ด รวมไปถึง layout และส่วนประกอบต่างๆบนบอร์ด. Form Factor จะเป็นตัวกำหนดว่าคุณจะต้องซื้อเคส (Case) แบบใด. เพราะเคสต่างก็มี layout และใช้ Power Supply ต่างชนิดกัน.
AT Form Factor
ใน Form ของ AT นี้นั้นมีแบบ AT ธรรมดา และ Baby AT. ซึ่งพื้นฐานแล้วทั้งสองนั้นต่างกันที่ขนาดของบอร์ด. บอร์ด AT นั้นจะมีความกว้างประมาณ 12" ซึ่งแปลว่ามันไม่สามารถนำมาใส่กับเคสในบัจจุบันได้. โดยทั่วไปแล้วบอร์ดแบบ AT นี้จะเป็นบอร์ดชนิดเก่าๆ เช่น 386 หรือก่อนหน้านี้. การที่จะจัดการกับข้างในเคสนั้นค่อนข้างจะมีปัญหา เนื่องจากขนาดของเมนบอร์ดมันจะเหลื่อมล้ำกับช่องใส่ Drive และส่วนอื่นๆ
Baby AT นั้นเป็น Form ที่ถูกใช้อย่างกว้างขวางในบอร์ดและเคสในปัจจุบัน. เมนบอร์ดแบบ Socket 7 จำนวนมาก และบอรืดของ Pentium II อีกจำนวนนึง ก็ได้ใช้ Form Factor แบบนี้. บอร์ดแบบ Baby AT นั้นมีขนาดกว้างประมาณ 8.5" และยาว 13". ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่า AT และทำให้การทำงานในเคสนั้นง่ายดายขึ้น เพราะว่ามันจะมีที่ว่างมากกว่า และมันมีมีรูให้ขันน๊อดอยู่ 3 แถว.
บอร์ดที่ใช้ AT Form นั้นจะต้องใช้ serial และ parallel ports ติดอยู่กับ expansion slot บนเคส และติดต่อกับเมนบอร์ดด้วยการใช้สายเคเบิ้ล. บนบอร์ดนั้นจะมีเพียง keyboard connector เพียงตัวเดียวที่ติดอยู่ด้านหลัง. ส่วน Processor นั้นจะยังคงอยู่ตรงด้านหน้าของบอร์ด ส่วน SIMM slots นั้นจะอยู่ในที่ต่างๆกัน และโดยทั่วไปแล้วมันจะอยู่ด้านบนของบอร์ด
ซึ่งตอนนี้นั้นวงการอุตสาหกรรมได้ย้านหนีจาก AT form factor ด้วยเหตุผลง่ายๆเพียงเพราะว่า ATX นั้นมันมีข้อได้เปรียบอยู่มากมาย. ซึ่งผู้คนโดยมากแล้วจะรำคาญมากกำกับการออกแบบของ AT form factor. เหตุผลข้อแรกก็คือ มันจะต้องใช้สายเคเบิ้ลเพื่อติดต่อ Connector กับ เมนบอร์ดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น COM 1, COM 2, printer port, USB, PS/2 mouse, ฯลฯ ซึ่งทำให้ภายในเคสนั้นจะดูรกไปหมด ทำให้จะทำงานได้ยุ่งมาก
เหตุผลข้อที่สอง คือ รูปแบบของ AT นั้นไม่เอื้ออำนวยต่อระบบการระบายความร้อน ลมจะไม่พัดไปยังพื้นที่ๆต้องการระบายความร้อน อย่างเช่น CPU. และอากาศที่ไหลก็มักจะนำฝุ่นมาด้วย ซึ่งในบางครั้ง Power Supply มันจะเป็นตัวเก็บฝุ่นเสียเอง
ATX Form Factor
ในปี 1995 ทาง Intel ได้ออก ATX Form Factor ซึ่งมันค่อยๆได้รับความนิยมมากขึ้น และ ผู้คนเริ่มโยนบอร์ด AT ซึ่งได้รับความนิยมมานานอย่างช้าๆ. ซึ่งเมนบอร์ด Pentium II และบอร์ดรุ่นหลังจากนี้ ส่วนมากแล้วจะเป็นแบบ ATX แม้ว่ายังจะมีบอร์ด Pentium II แบบ AT บางตัววางขายอยู่ แต่ก็เป็นส่วนน้อย. ส่วนบอร์ดของ Pentium ตอนแรกโดยทั่วไปนั้นจะเป็นแบบ AT แต่ทางผู้ผลิตเมนบอร์ดก็ออกวางจำหน่ายบอร์ดของ Pentium ในรูปแบบ ATX ออกมาตามหลังมากมาย
รูปแบบของ ATX นั้นได้พัฒนาขึ้นมาจาก AT อย่างมากมาย และได้แก้ไขข้อเสียที่เกิดขึ้นกับ AT ออกไปด้วย. ซึ่งตั้งแต่ AT Form นั้นเก่าเกินไป แถมยังมีข้อยุ่งยากมากมาย ทำให้ ATX นั้นสามารถเกิดได้อย่างเต็มตัว.
ตัวอย่างของ feature ใหม่ๆ เช่น
- รวม I/O Connectors ไว้บนบอร์ด : เมื่อผู้ใช้ AT นั้นจะต้องต่อ Port ต่างๆติดกับด้านหลังเคส และ ต้องต่อสายเคเบิ้ลเหล่านั้นลงบอร์ดอีก ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่บอร์ด ATX นั้นได้ติด Port เหล่านี้มาไว้บนบอร์ดให้เลย ซึ่งทำให้การติดตั้งนั้นง่ายขึ้นมาก.
- รวม PS/2 Mouse Connector ไว้บนบอร์ด
- ลดการเหลื่อมล้ำระหว่างบอร์ดและช่องใส่ Drive : บอร์ดแบบ ATX นั้นจะไม่ไปเหลื่อมล้ำกับช่องใส่ Drive ในด้านหน้า ซึ่งทำให้ผู้ใช้นั้นสามารถที่จะถอด/ใส่ Drive และตัวเมนบอร์ดได้ง่ายขึ้น และการที่ Drive มันไม่ไปเหลื่อมกับบอร์ดทำให้ความร้อนลดลงด้วย.
- ลดการที่ซีพียูเข้าไปยุ่งกับการ์ด : CPU ใน AT นั้นบางตัวอาจอยู่ด้านหลังของช่องใส่การ์ดต่างๆ ทำให้บางครั้งเราไม่สามารถใส่กาณืดที่มีความยาวมากๆได้ เพราะมันจะไปติดซีพียู แต่ ATX ได้ย้ายที่อยู่ของ CPU ไปอยู่ด้านบน ซึ่งอยู่ใกล้ Power Supply ซึ่งตรงนี้เอง ทำให้ผู้ใช้นั้นสามารถที่จะใส่ expansion cards ที่มีความยาวเต็มที่ได้โดยไม่ต้องไปกังวลว่าจะไปชนกับ Heaksink ของ CPU.
- มี Power Connector ที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น : ATX นั้นใช้ Power Connector แบบ 20-pin เพียงตัวเดียวในการติดต่อกับเมนบอร์ด และมีสัญลักษณ์ที่บอกว่าสามารถต่อให้ถูกได้เพียงทางเดียว. ซึ่งง่ายกว่า Connector ของ AT ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชิ้น และต่อได้ยาก.
- มีการระบายความร้อนที่ดีขึ้น
- 3.3 Volt Power : เมนบอร์ด ATX นั้นได้ถูกออกแบบมาให้รับไฟ 3.3 Volt ได้โดยตรงจาก Power Supply. ซึ่งตั้งแต่ CPU รุ่นใหม่นั้นทำงานที่ 3.3 Volt ซึ่งตรงนี้สามารถทำให้เอาส่วน voltage regulator ที่ใช้ในการลดไฟจาก 5V ไปเป็น 3.3V ออกไปได้เลย. แต่ต้องจำไว้ว่า CPU หลายตัว ไม่ได้ทำงานที่ 3.3V ยังคงจำเป็นจะต้องใส่ voltage regulator เข้าไปอยู่ดี
NLX Form Factor
NLX นั้นเป็น Form Factor แบบใหม่ และออกมาเพื่อ PC ที่มีองค์ประกอบน้อยๆ. ระบบ NLX นั้นจะต้องใช้ riser board เหมือนกับระบบ LPX. Riser board นี้จะถูกวางตั้งตรงอยู่ในเคสและต่อเข้าโดยตรงกับ Power Supply และ expansion cards แต่ละตัวนั้นจะถูกต่อเข้ากับ Riser board นี้ เช่นเดียวกับ HDD และ FDD connectors ก็จะติดอยู่บนบอร์ดของมันเอง. ดังนั้นแล้ว ถ้ามองอย่าง่ายๆแล้ว Riser board นี้ก็เปรียบเหมือน Hub ของระบบ NLX ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกติดต่อไปยัง Riser board. ดังนั้นแล้วเมนบอร์ดของ NLX นี้จะถอดออกได้โดยง่ายโดยถอดแค่ Riser board ออก แล้วเอาบอร์ดใหม่มาเสียบเข้าแทนที่.
บอร์ด NLX นั้นจะดูแตกต่างมาก มากกว่าที่ AT ต่างจาก ATX. อย่างแรกเลยคุณต้องจำได้ว่า มันไม่มี expansion card slots เลย และยังไม่มี drive connectors. ดังนั้นแล้ว 340-pin connector ที่อยู่บนเมนบอร์ดนั้น จะเป็นตัวที่ใช้เสียบ Riser board. แต่ส่วนที่คล้ายกับ ATX คือ I/O connectors จะอยู่บน Panel ซึ่งอยู่ด้านข้างของบอร์ด และสามารถใช้อุปกรณ์ USB, parallel และ serial กับระบบ NLX ได้
ส่วน Power supply นั้นจะดูคล้ายกับของ AT. และติดต่อกับเมนบอร์ดโดยใช้ 20-pin connector. และจะมีพัดลมดูดอากาศ 1 ตัว อยู่ใกล้ๆกับบริเวณที่วางซีพีบูบนเมนบอร์ด ซึ่งพัดลมตัวนี้ใช้เป็นระบบระบายความร้อนของระบบ NLX.
LPX Form Factor
LPX นั้นดูคล้ายระบบ NLX ในรูปแบบ AT. เมนบอร์ด LPX นั้นก็มีหลายสิ่งที่เหมือนกัน ขนาดพอๆกัน และมีมุมมองที่เหมือนเมนบอร์ด Baby-AT. และสามารถใช้ power connectors แบบเดียวกับ AT ได้ โดยเป็น 6-pin connectors จำนวน 2 ชุด โดยปกติมักจะมีป้ายบอกว่าเป็น P8 และ P9. และสิ่งที่คล้าย NLX นั้นคือใช้ riser card มาเป็น Hub ของระบบ. ส่วน external I/O ports ของระบบ LPX ก็มีรูปแบบเหมือนทั่วไป เรียงจากซ้ายไปขวาดังนี้ VGA, parallel port, 2 serial ports, PS/2 mouse, PS/2 keyboard. แต่ในรุ่นใหม่ๆอ่จต่างไปจากนี้โดยมี USB Port และ Lan Cennector ด้วย.
LPX ถูกนำมาใช้ในทุกวันนี้ และถูกผลิตโดยผู้ผลิตบางราย และสามารถใช้ได้ถึงกับ Pentium II. แต่ด้วยความล่าช้าของการกำหนดมาตราฐาน ทำให้มันไม่สามารถไปไกลได้มากกว่านั้น.
Wednesday, April 30, 2008
Form factor case ใน PC
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment